จากบทความที่แล้ว เราก็ได้รู้จักกับ Labview ไปบ้างแล้วนะคะ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมันมากขึ้นกว่าเดิม อีกนิดๆหน่อย มือใหม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้น้าา
ก่อนอื่นเรามาทำความรุ้จักกับมันให้มากขึ้นก่อนจะดีกว่า บทความที่แล้วจะเร่งรัดไปหน่อย ฮ่าๆๆ เอาใหม่นะ ก่อนอื่นเรามารู้จักกับหน้าตาของ labview ก่อนเลยละกัน โปรแกรมจะมี 2 หน้าต่าง
หน้าต่างแรกคือ Front Panel เป็นหน้าแสดงผล หรือ เราจะเรียกกันว่า User interface และ หน้าต่างที่สองคือ Block Diagram ใช้สำหรับเขียน โปรแกรมวงโค้ดต่างๆลงไป นั่นเอง เพื่อแสดงผลที่หน้า Front Panel
![]() |
รูปที่ 1 |
มีหน้าต่างอีกหนึ่งตัวที่เป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดสำหรับเราอีก หนึ่ง ตัวคือ Navigation Window
จะช่วยเป็นได์ชี้ทางเรา เมื่อเราอยากจะดู โค้ดที่เราวางไว้ ได้ง่ายขึ้นโดยเลื่อนเมาส์ลากจากหน้าต่างเล็กๆตะวนี้ได้เลย เนื่องจาก labview ไม่สามารถ ย่อหรือขยายหรือซูม หน้าต่างได้นั่นเอง จึงต้องมีไกด์ตัวน้อยนำทางเราเพื่อความสะดวก และรวดเร็ว เมื่อเราเขียนโปรแกรมเยอะๆ จะได้มองหาโค้ดที่ต้งการได้ง่ายขึ้น และโค้ดที่เราเห็นกันนี้ จะแสดงที่หน้า Front เป็นรูปภาพ ดังภาพที่ 3 เลยจ้า
** ขออนุญาตใช้ภาพใหญ่พิเศษ เดี๋ยวมองไม่เห็นเนาะ**
![]() |
รูปที่ 2 |
เราจะมารัดกันอีกรอบ ฮ่าๆๆ เครื่องมือที่เราใช้ เพื่อช่วย ลงสี หรือลากเส้น เพื่อเชื่อมโค้ดแต่ละตัว หรือ พิมพ์ข้อความ และอื่นๆ เราจะใช้ Tool Pallete ดังนี้ ที่วงกลมสีแดงไว้
และภาพโดยรวม จากอุปกรณ์ที่เราใช้ได้ มีเยอะมาก เราจะดึงมาให้ดูเพียงเล็กน้อยเท่านั้นว่า อุปกรณ์ที่เราสามารถนำมาวางหน้า Front มีอะไรบ้าง คร่าวๆ ก็ประมาณนี้เลย เราเรียกมันว่า รูปภาพ มีอีกเพียบเลยนะ
![]() |
รูปที่ 3 |
มะหลังจากที่เรารู้จัก labview ไปบ้างโดยคร่าวๆแล้วนั้น
ลอง มาดูวิธีการเขียนกันเลยดีกว่า อ้อ.....มีอุปกรณ์อีกอย่างนึงที่เราต้องรู้จักและใช้มันเป็น เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคตต่อไป มาดูกัน
![]() |
รูปที่ 4 |
ตามเมาส์เลยนะคะ คลิกขาวที่หน้า Block diagram ซะก่อน แล้วจะได้เครื่องมือสี่เหลี่ยมเล็กๆขึ้นมา แล้วกด สัญลักษณ์ เพิ่ม/ลด ด้านล่างสุด เราจะได้หน้าเครื่องมือเยอะๆแบบนี้ เรียกมันว่าหน้า Function คลิกที่ Programming เลือก Structures จะได้อุปกรณ์ชนิดนึงออกมาเพียบเลย ตัวนี้สำคัญมาก และจำเป็นต้องใช้เป็นอย่างมาก เราเรียกมันว่า Loop (ลูป)
ขออนุญาตไม่อธิบายรายละเอียดได้มั๊ย มันยาวมาก เอาเป็นว่า ที่สำคัญๆมี For loop ,While loop , Case strusture ,Event Structure และ Flat Sequence สำหรับมือเก่าๆเค้าก็คงใช้มากกว่านี้แหละ แต่สำหรับเรา เราใช่เท่านี้ก็เยอะแล้ว ฮ่าๆๆ
**การจะเขียนโปรแรกมชนิดนี้เราแนะนำให้ซื้อหนังสือ หรือหาคู่มือมาเป็นตัวช่วยเพราะเค้าจะบอกรายละเอียดในการใช้อุปกรณ์ให้อย่างครบถ้วน**
มะเรามาเริ่มเขียนโค้ดกันเลยดีกว่า ว่า เจ้า labview ทำอะไรได้บ้าง
![]() |
รูปที่ 5 |
อ้ออ เราสามารถ จัดหน้าต่างสองตัวนี้ให้สามารถอยุ่คู่กันแบบนี้ได้เลยนะคะ ทำงานสะดวกมากขึ้น แต่เราชอบจอใหญ่ๆ ชัดดีฮ่าๆๆ
อธิบายโค้ตัวนะนี้คะ
เราต้องการให้ลูปวนไปเรื่อยๆ คือกรอบหนาๆใหญ่กรอบนอก เรียกว่า while loop จนกว่าเราจะสั่งหยุดโดยกดปุ่ม cancel ที่หน้า Front หน้าต่างจะกลับมาสู่โหมดปกติ ในการเขียนโค้ดเพิ่มเติมได้
เราใช้คำสั่งแรนดอม ตัวเลขจะมีค่าแค่ 0-1 ดูชื่อโค้ดตามตัวเลยนะคะ ตัวแรกให้บวกค่าเข้าไปอีก1 ตัวที่สองลบค่าลงมา-1 โดยใช้อุปกรณ์ numeric ผลลัพธ์ที่ออกมา จะเป็นโค้ดตัวสีฟ้า คือ X+1 และ number 0-1
จากนั้นเอาค่าสองตัวมาเปรียบเทียบกันโดนใช้อุปกรณ์ comparison ผลลัพธ์คือโค้ดตัวเขียว X>=y? ถ้าใช่ไฟสีเขียวที่หน้า Front จะติด ถ้าไม่ใช่จะดับ
จากนั้นนำค่าที่ออกมาไปเข้า Case structure ความหมายคือ X>=y? ถ้าใช้ ให้แสดงคำว่า True ที่ String ตัวสีชมพู ตัวนี้เราจะเรียกมันว่า indicator เหมือนตัวเอาท์พุดแหละ ถ้าตัวอินพุดเราจะเรียกมันว่า Control
เครื่องหมานตาชั่งคือ Wait Until Next ms Multiple มีไว้หน่วงเวลานะ หน่วยคือ ms
*กรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆสีชมพูเราเรียกมันว่า string constant ใช้ สำหรับโค้ดที่เป็น String คือข้อความเท่านั้น และต้องส่งเอาท์พุดเป็น ข้อความเช่นกัน ถ้าเป็นตัวเลข ก็จะใช้กรอบสี่เหลี่ยมสีฟ้า นั่นเอง รายละเอียดมันเยอะนะคะ ต้องศึกษาจากหนังสือเพิ่มเติมน้าาา
![]() |
รูปที่ 6 |
มาดูโค้ดตัวต่อไปกัน ขออธิบายแทนภาพละกันน้า
**บอกไว้ก่อนว่า ในโค้ด เราแค่ loop เดียว ที่เห็นสองloop เราก๊อปมาวางให้ดูเฉยๆ นะคะ**
เริ่มด้วย เราใช้ while loop เหมือนเดิมนะ แต่เพิ่ม Event structure มา
โค้ดตัวเขียว และสีชมพู สองตัว ใช้ภาพอธิบายนะ อิอิ
เราใช้ Case structure เพราะเราต้องการให้โปรแรกมแสดงค่าเมื่อ..... เราใส่ข้อมูลลงไปที่ String ในหน้า Front นะคะ ดูภาพนะ จากนั้น เราต้องกด OK เพื่อให้ข้อความที่เราใส่ลงไป มาแสดงที่ String2 และ เมื่อกด Cancel ให้ลบความความที่ sting2 ออกไป เราสามารถสลับกันได้นะ จะลบอันไหน เพิ่มอันไหน ทำำได้หมดเลย ต้องลองเล่นดูน้า
เมื่อเราเอา Event struture มาวาง คลิกขวาที่ตัวมัน เลือก Add Event case เพื่อเพิ่มคำสั่งเข้าไป ดังรูปข้างล่างนี้
![]() |
รูปที่ 7 |
เมื่อเจอหน้าต่างนี้ ให้เลือก control ที่ต้องการ เราต้องการให้กด OK แล้วแสดงผลลัพธ์ ก็ เลือก OK buttom @ Event sources และเลือก Mouse up @ Event แล้ว ok สำหรับ โค้ดของ Cancel ก็ทำเช่นนี้เช่นกัน เราก็จะได้หน้า Event มาสองหน้าคือ [0]&[1] ดังภาพที่ 6
สำหรับหน้า Cancel bottom เราให้แสดงผลเมื่อกด cancel แล้ว ให้ลบข้อความที่ String2 ออกไป ในโค้ดมันไม่ได้หมายถึงการลบนะ แต่เป็นการเพิ่มช่องว่างเข้าไปแทน นะคะ
***สัญลักษณ์ สีชมพู ที่เราเห็น หน้าตาแปลกๆ มีคำว่า Value นั้น เราใช้เมื่อต้องการ นำค่าของตัวนั้นๆ มาเปลี่ยนแปลงตามที่เราต้องการ โดยดึงมาจากตัวมันเอง เราเรียกว่าการแทนค่า วิธีดึงมา เป็นดังรูปข้างล่างนี้ คลิกขวาที่ตัว control หรือ indicator ที่เราต้องการ
ความหมายง่ายๆ เหมือนเคสนี้ก็คือ เมื่อกด Cancel ให้แทนค่าช่องว่าง ที่ตำแหน่ง Sting2 นั่นเอง
นี่แค่น้ำย่อย ถ้าจะเอาแบบ โหดๆ ยาวเวอร์มาก จริงๆเราจะเน้น การนำไปใช้มากกว่าเพราะ ในหนังสือไม่มี เค้าจะอธิบายแค่ว่าอะไร....ใช้ยังไงเท่านั้น
เอาไว้แค่นี้ก่อนเนอะ เมื่ยแย้วว เดี๋ยวมาต่อใหม่นะคะ บายย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น