มาาา.........เริ่มกันเล้ยย
Labview Labview Labview อยู่ด้วยกันตั้งหลายเดือน ไม่ได้เก่งขึ้นเลย แต่ก็อยากเขียนเก็บไว้เป็นประสบการณ์อันโชกโชน เอ้ยย ฮ่าๆๆๆ
สำหรับใครที่สงสัยว่า Labview เป็นยังไงนะฮะ ไม่ยาก www.google.com เลยจ้าาา มันก็ช่วยได้นะ แหม๋
นี่เลย หน้าตา Labview เผื่อใครเคยผ่านมาแล้วลืมมันไป ตอนนี้ ใช้ Labview 8.5 คัฟ (แนะนำให้จิ้มที่รูปแล้วมันจะใหญ่ขึ้นเองฮะ)
![]() |
รูป ที่ 1 |
โดนลูกพี่ใหญ่สั่งเขียนโปรแกรมหุ้น เค้าจะไปเล่นหุ้นกัน
นี่เลยหน้าตาโปรแกรมที่สั่งสมประสบการณ์มานาน ได้แค่นี้แหละ ให้มันสวย ดูดี ไม่รกตา ไม่ลายตา
This is a stock exchange of Thailand business
![]() |
รูป ที่ 2 |
ก็แค่มานั่งพิมพ์ไปบ่นไปเมามันกับการพิมพ์มันเพลินดี อิอิ
เข้าเรื่องแล้วๆ สำหรับหน้าจอข้างต้น เค้าเรียกมันว่า Front panel เป็นหน้าจอสำหรับ User interface ก็หน้าที่เค้าเอาไว้โชว์ข้อมูลนั่นแหละฮะ และ มีอีกอัน เค้าเรียกมันว่า Block Diagram อันนี้เป็นเบื้องหลังการทำงานอันแแสนลำบากของหน้าจออันสวยหรูที่ได้มานั่นเอง เอาหน้าเปล่าๆไปดูก่อนนะ
![]() |
รูป ที่ 3 |
คือตัว Labview เนี่ยมันเป็นโปรแกรมสำหรับ โปรแกรมเมอร์ ที่ต้องการจะออกแบบแอพลิเคชั่นต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมมีใช้กันถ้วนหน้าจ้า มันทำได้หลากหลายขึ้นกับว่าจะทำอะไร และใช้งานมันเก่งแค่ไหน สำหรับการควบคุมงานในโรงงาน ก็ใช้มันControl ได้มากมาย เท่าที่เห็นที่ออฟฟิตก็ใช้เจ้าตัวนี้แหละในการเขียนคำสั่ง ต่างๆ สามารถใช้ร่วมกับ PLC ก็ได้ ใช้ร่วมกับ อุปกรณ์ DAQ ก็ได้ ข้อมูลเพิ่มเติม GOOGLE โล้ดด ไม่รุ้สิมันเป็นรายละเอียดยิบย่อย เดี๋ยวจะขี้เกียยจอ่านกัน ฮ่าๆๆ (ขี้เกียจพิมพ์)
มันเป็นซอฟต์แวร์อุตสาหกรรมเพื่อการวัด วิเคราะห์ ทดสอบ และควบคุมแบบอัตโนมัติ มันน่าสนใจมากเลย แต่ต้องให้ความสำคัญกับมันอย่างจริงจังและอย่าท้อ บอกเลย ว่าอย่าท้อ
โปรแกรมที่เราเขียนตอนนี้ เขียนโปรแกรมศึกษาข้อมูลของหุ้น ลูกพี่ใหญ่จะซื้อหุ้น แต่คงบอกรายละเอียดได้ไม่มากฮะ ความลับ (มั้ง) แต่จะให้โปรแกรมไปดูว่าเค้าดูกันยังไง
ก่อนอื่นต้องบอกเลย เราใช้ฐานข้อมูล (Database) เป็น Microsoft Access เพื่อใช้บันทึกข้อมูลต่างๆที่รับเข้ามา และข้อมูลตัวนี้จะต้องเป็นข้อมูลชุดเดียวกันตลอดเพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขเท่านั้น นี่ก็เป็นข้อมูลของตลาดหุ้น หลังจากหุ้นปิดไปแล้ว ย้อนหลังไปหลายวัน หลายเดือน หลายปีก็ได้ เจ้า DB สามารถเก็บข้อมูลได้เยอะมาก
![]() |
รูป ที่ 4ในฐานข้อมูล จ้า |
ใน Labview มีฟังก์ชันสำหรับเก็บข้อมูลใน DB ได้ด้วย มาดูกัน ว่าเจ้านี่มันทำอะไรได้บ้าง
![]() |
รูป ที่ 5 นี่เป็นข้อมูลดิบๆๆๆ จากคลังที่โหลด มาเพื่อจะแยกไปแบ่งเป็นประเภทๆ ไป แบ่งเป็นคอลัมน์นั่นแหละ อิอิ |
![]() |
รูป ที่ 6 เจ้านี่เป็นข้อมูลหลังจากได้ถูกแบ่งแยกมาแล้ว ก็ใช้ Labview แหละฮะในการแบ่งคอลัมน์ให้มัน รูปข้างล่างเป็นเบื้องหลัง รูปข้างบนเป็นหน้าจอแสดงผลฮะ |
แล้วก็มีอีกแบบนึง จะดึงเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ไม่ต้องการเอาข้อมูลทั้งหมด เอาแค่ คอลัมน์เดียว แบบไม่ซ้ำ ถึงแม้ข้อมูลนั้นจะมีข้อมูลที่ซำกันมาก่อนก็ตาม ดังรูปข้างต้น ข้อมูลใน DB มีค่าซ้ำกันคือ ค่าของ 2S เพียงแต่วันที่ไม่ซ้ำกันเท่านั้น เราจะดึงเฉพาะค่า 2S ออกมาค่าเดียวแบบไม่ซ้ำ
![]() |
รูป ที่ 7 นี่เลยการดึงข้อมูลมาใช้งานแบบไม่ซ้ำค่าเดิมจ้า |
ปล. ที่ไม่ได้ทำให้รูปมันชัดๆ ไม่ใช่อะไร แค่จะเอามาเป็นตัวอย่างในการอธบายเฉยๆ ว่ามันทำอะไรได้บ้าง เด๊่ยวจะมาแก้ไขเพิ่มเติมให้จ้า สำหรับใครที่สนใจมันจริงๆอยากจะได้รายละเอียดมากกว่านี้ก็ทิ้ง E-Mail ไว้ ถามข้อมูลไว้ได้จ้า บอกไว้ก่อนไม่ได้เก่งมากเลย เพิ่งเริ่มเขียนเหมือนกัน อิอิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น